เมนู

บทว่า สาปิ ตณฺหา ได้แก่ ตัณหาซึ่งเป็นปัจจัยของสังขาร
คือทิฏฐินั้น.
บทว่า สาปิ เวทนา ไต้แก่ เวทนาซึ่งเป็นปัจจัยของตัณหานั้น.
บทว่า โสปิ ผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันเกิดจากอวิชชาซึ่งเป็น
ปัจจัยของเวทนานั้น.
บทว่า สาปิ อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาอันสัมปยุตด้วยผัสสะนั้น.

ถ้ามีเรา บริขารของเราก็มี


บทว่า โน จสุสํ โน จ เม สิยา ความว่า ถ้าเราไม่พึงมีไซร้
แม้บริขารของเราก็ไม่พึงมีด้วย.
บทว่า น ภวิสฺสามิ น เม ภวิสฺสติ ความว่า ก็ถ้าแม้ในอนาคต
เราจักไม่มีไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้บริขารของเราก็จักไม่มีด้วย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาให้ภิกษุนั้นสลัดทิ้งทิฏฐิที่ยึดถือไว้
แล้ว ๆ ตามอัธยาศัยบุคคลบ้าง ตามการยักย้ายเทศนาบ้าง.
ในบทว่า ตโตโช โส สงฺขาโร พึงทราบอธิบายว่า :-
ถามว่า ในจิตที่สัมปยุตด้วยตัณหาไม่มีวิจิกิจฉาเลย (แล้ว)
สังขารคือวิจิกิจฉาจะเกิดจากตัณหาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สังขารคือวิจิกิจฉาเกิดจากตัณหาก็เพราะยังละตัณหา
ไม่ได้. อธิบายว่า เมื่อตัณหาใดยังละไม่ได้ สังขารคือวิจิกิจฉานั้นก็
เกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตัณหานั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
ตโตโช โส สงฺขาโร.